Sandvik Coromant logo

เคล็ดลับในการทำงานกัดเกลียว

ขอแนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการทำงานกัดเกลียว

การเลือกเส้นผ่านศูนย์กลางในการตัด

เส้นผ่านศูนย์กลางในการตัดที่เล็กจะช่วยให้ผลิตเกลียวที่มีคุณภาพสูงออกมาได้ดี หน้าสัมผัสหัวกัดจะทำให้มีข้อผิดพลาดในการขึ้นรูปเล็กน้อยบริเวณโคนของโปรไฟล์เกลียว ในการทำงานกัดเกลียว ความสัมพันธ์ระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางในการทำเกลียว เส้นผ่านศูนย์กลางในการตัด และระยะพิทช์จะมีผลกับระยะกินลึกจริงในแนวรัศมี (ae eff) ซึ่งจะทำให้มีขนาดใหญ่กว่าระยะกินลึกในแนวรัศมีที่เลือกมาก ae จริงที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้ค่าเบี่ยงเบนในบริเวณโคนของเกลียวสูงขึ้น วิธีลดค่าเบี่ยงเบนโปรไฟล์ลงให้สุดคือ ไม่ควรให้เส้นผ่านศูนย์กลางหัวตัดมีขนาดใหญ่เกิน 70% ของเส้นผ่านศูนย์กลางการทำเกลียว

ตัวอย่าง M30x3

เครื่องมือที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 21.7 มม. จะมีค่าเบี่ยงเบนโปรไฟล์อยู่ที่ 0.07 มม. (0.0027 นิ้ว)

เครื่องมือที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 11.7 มม. จะมีค่าเบี่ยงเบนโปรไฟล์อยู่ที่ 0.01 มม. (0.0004 นิ้ว)

ทางเดินของเครื่องมือตัดที่ใช้ในการกัดเกลียว

ทางเดินของเครื่องมือตัดที่ใช้ในการกัดเกลียวจะทำการกัดเกลียวซ้ายหรือเกลียวขวาโดยใช้การกัดทวนหรือการกัดตาม ทั้งนี้ควรยึดและหดดอกกัดเกลียวในทางเรียบ เช่น เมื่อกัดโค้งเข้าและออกจากชิ้นงาน ซึ่งจะต้องใช้เครื่องจักรงานตัดเฉือนในการกัดเกลียวซึ่งสามารถเคลื่อนที่บนแกน X, Y และ Z ได้ในเวลาเดียวกัน โดยแกน X และ Y จะเป็นตัวกำหนดเส้นผ่านศูนย์กลางเกลียว ส่วนแกน Z จะควบคุมระยะพิทช์

ระยะพิทช์
 

เกลียวในด้านขวา

หัวตัดทั้งหมดจะถูกจัดให้อยู่ใกล้ส่วนล่างของรูที่สุดตั้งแต่เริ่ม จากนั้นจะเคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกาขึ้นด้านบนเพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถทำการกัดทวนได้

เกลียวในด้านซ้าย

การกัดเกลียวซ้ายจะเป็นการกัดตามในทิศทางตรงข้าม จากบนลงล่าง และในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถทำการกัดทวนได้

ด้านใน
เกลียวขวา เกลียวซ้าย
การกัดทวน
การกัดตาม
ด้านนอก
เกลียวขวา เกลียวซ้าย
การกัดทวน
การกัดตาม
 
 

การกัดทวน

  • การกัดทวนจะเกิดขึ้นเมื่อมีการสอดเครื่องมือเข้าไปตามทิศทางการหมุนของเครื่องมือ
  • ขอแนะนำให้ใช้วิธีการกัดทวนเมื่อเครื่องจักรงานตัดเฉือน อุปกรณ์จับยึด และชิ้นงานมีความเหมาะสม
  • ความหนาของเศษจะลดลงตั้งแต่เริ่มทำการตัดจนเหลือศูนย์ในตอนท้าย ซึ่งจะช่วยหยุดการเสียดสีกับขอบและการครูดกับผิวจนไหม้ก่อนที่จะทำการตัด
 

การกัดตาม

  • ในการกัดตาม ทิศทางการป้อนงานของเครื่องมือตัดจะอยู่ตรงข้ามกับทิศทางการหมุน
  • คมตัดจะถูกแรงอัดเพื่อให้ทำการตัด ซึ่งทำให้เกิดการเสียดสีหรือบดอัดผิวงานจากแรงเสียดทาน อุณหภูมิสูง และมักมีการสัมผัสกับผิวชุบแข็งบ่อยๆ ซึ่งเกิดจากคมตัดก่อนหน้า ทั้งหมดนี้คือปัจจัยที่ทำให้อายุการใช้งานเครื่องมือสั้นลง
  • เศษหนาบริเวณทางออกที่เกิดจากการกัดจะทำให้อายุการใช้งานเครื่องมือสั้นลง
  • ความหนาและอุณหภูมิที่สูงขึ้นบริเวณทางออกอาจทำให้มีเศษติดสะสมไปกับคมตัดไปจนเริ่มทำการตัดรอบถัดไป หรือทำให้มีเศษโลหะติดที่คมตัดชั่วครู่
 

การเข้าตัดชิ้นงาน – โค้งเข้า

ทำการเข้าตัดชิ้นงานอย่างนุ่มนวลขณะทำการกัดวงกลมหรือการกัดวงกลมไล่ระดับ ลักษณะดังกล่าวสามารถทำได้โดยการทำวงกลมเพิ่ม ซึ่งจะส่งผลให้มีการเข้าตัดวัสดุช้า โดยจะต้องนำระยะพิทช์ไปหารด้วย 4 ในการหมุนทุกๆ 1/4 รอบ (90°) ขณะที่ทำการเข้าตัดชิ้นงาน การเข้าตัดชิ้นงานอย่างนุ่มนวลเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยป้องกันการสั่นสะท้านและช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องมือ

 

อัตราป้อนต่อฟันตัด

ควรทำงานโดยใช้อัตราการป้อนต่อฟันต่ำเพื่อให้ได้คุณภาพงานที่ดีที่สุดและเพื่อป้องกันการเกิดรอยบนผิวชิ้นงานจากการป้อนงาน ทั้งนี้ อัตราการป้อนต่อฟันไม่ควรเกิน 0.15 มม./ซี่ (0.006 นิ้ว/ซี่) และค่า hex ก็ควรจะแปรผันตามกันไปด้วย

 

อัตราป้อนที่ซอฟต์แวร์ของเครื่องจักรกำหนด

ควรคำนวณอัตราป้อนที่ใช้ในการกัดเกลียวให้ถูกต้องตามที่ซอฟต์แวร์ของเครื่องจักรกำหนดเพื่อให้แน่ใจว่าโหลดที่เม็ดมีดถูกต้อง โดยอัตราป้อนจะต้องแปรผันตามค่า hex ซึ่งสอดคล้องกับอัตราป้อนที่ขอบนอก แต่กระนั้น เครื่องจักรจำนวนมากก็ยังคงจำเป็นต้องใช้อัตราป้อนกลางสำหรับเครื่องมือ (vf) อยู่ ในการทำงานกัดเกลียวใน ทางเดินเครื่องมือตัดของขอบนอกจะเร็วกว่าการเคลื่อนที่ของเส้นแนวศูนย์กลางเครื่องมือ ส่วนการโปรแกรมอัตราป้อนที่เครื่องกัดส่วนใหญ่นั้นจะอิงตามเส้นแนวศูนย์กลางของสปินเดิล โดยจะต้องนำไปรวมในการคำนวณค่าการกัดเกลียว เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องมือและป้องกันการสั่นสะท้าน/การชำรุดของเครื่องมือ

 

จำนวนรอบการตัด

การแบ่งงานกัดเกลียวออกเป็นหลายๆ รอบจะทำให้ได้ระยะพิทช์ของเกลียวที่ใหญ่ขึ้นและช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องมือไม่ชำรุดเมื่อทำงานกับวัสดุที่ตัดเฉือนยาก อีกทั้งยังให้พิกัดความเผื่อเกลียวที่ดีเพราะมีการเบี่ยงเบนของเครื่องมือน้อยลง ซึ่งช่วยให้การทำงานที่มีระยะยื่นยาวและมีสภาพที่ไม่มั่นคงมีความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้ควรแบ่งรอบการทำงานออกเป็นสองรอบขึ้นไปเมื่อทำการกัดเกลียวในวัสดุชุบแข็งและวัสดุที่ตัดเฉือนยาก

 

การตัดเฉือนแบบแห้งหรือแบบเปียก

ขอแนะนำให้ใช้การตัดเฉือนแบบแห้งทุกครั้งเนื่องจากน้ำหล่อเย็นจะให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ทางเข้าและออก ทำให้เกิดรอยแตกร้าวจากความร้อน ทั้งนี้ น้ำหล่อเย็นอาจมีประโยชน์ในบางสถานการณ์ เช่น เมื่อทำการเก็บผิวละเอียดเหล็กสเตนเลส/อะลูมิเนียม การตัดเฉือน HRSA หรือการตัดเฉือนเหล็กหล่อ (เพื่อลดฝุ่นพิษ) และจะมีประโยชน์สูงสุดเมื่อทำการคายเศษโดยใช้ลมอัด

 

การพิจารณาค่าการตัด

  • ในการทำงานกัดเกลียวใน ae จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการตัดตรง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเศษบาง
  • ในการทำงานกัดเกลียวนอก ความลึกในแนวรัศมีจะน้อยกว่ามาก และสามารถใช้ความเร็วตัดสูงขึ้นได้
  • มุมเข้างานสำหรับรัศมีปลายคมตัดคือ 90° เนื่องจากจุดนี้เป็นส่วนที่เสียหายได้ง่ายที่สุดของเม็ดมีด จึงต้องทำการคำนวณค่า hex โดยใช้มุมเข้างาน 90°

สำหรับข้อมูลและค่าการตัด โปรดดูที่ CoroPlus® ToolGuide

 

ขนาดรูที่ใช้ในการกัดเกลียว

ดอกกัดเกลียวจะใช้ขนาดรูเท่ากันกับที่ใช้ในการต๊าป ดังนั้นควรมองหารูที่มีขนาดใหญ่พอและมีค่าพิกัดความเผื่อไม่เกินเกณฑ์ ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการทำงานมีความปลอดภัยยิ่งขึ้นและช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องมือให้ยาวนานขึ้น ทั้งนี้ เมื่อใช้เม็ดมีดโปรไฟล์เต็ม จะต้องใช้รูที่มีขนาดเล็กลงเพื่อให้ตัดเฉือนได้ถึงส่วนบนของเกลียว

 

การใช้งาน

เพื่อให้ตัวจับยึดเม็ดมีดด้วยสกรูทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ควรใช้ไขควงวัดแรงบิดตรวจเช็คให้แน่ใจว่าได้ยึดเม็ดมีดเข้าที่เรียบร้อยดีแล้ว

  • การใช้แรงบิดมากเกินไปจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องมือ และอาจทำให้เม็ดมีดหรือสกรูหักได้
  • การใช้แรงบิดน้อยเกินไปจะทำให้เกิดการสั่นสะท้านและทำให้ผลการตัดไม่แม่นยำ
  • เปลี่ยนสกรูเม็ดมีดเป็นประจำ และดูแลให้ช่องใส่เม็ดมีดสะอาด ปราศจากสิ่งแปลกปลอมซึ่งอาจทำให้เม็ดมีดผิดตำแหน่งไป 
การตรวจสอบเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้การเจาะมีประสิทธิภาพที่ไว้วางใจได้
 
 

ลงทะเบียน ติดตามข่าวสาร

สมัครรับจดหมายข่าวของเราวันนี้

account_circle

ยินดีต้อนรับ,